ตีแผ่วงจรธุรกิจขับวินมอไซด์อาชีพที่รายได้ดีกว่าพนักงานออฟฟิศ แต่เงินหายไปไหนหมด?
วันนี้เราจะมาตีแผ่อีกหนึ่งอาชีพ ที่ถือว่าถ้าอยู่ถูกที่ถูกเวลาแล้ว ถือว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีทีเดียวสำหรับประชาชนคนธรรมดา ที่เรียกว่าชาวบ้านทั่วไป ดีถึงขนาดที่ว่า คนทื่ทำงานออฟฟิศประจำหลายคนออกมาประกอบอาชีพนี้เป็นรายได้เสริม หรือเป็นรายได้หลักเลยทีเดียว อาชีพที่เราจะพูดถึงวันนี้คือ ขับวินมอไซด์ หรือ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง อาชีพที่ดูปอนๆ หาเช้ากินค่ำ แต่ไม่แน่ว่า รายได้เขาอาจจะมากกว่า อาชีพรับจ้างอื่นๆ ที่ต้องนั่งออฟฟิศหรูในห้องแอร์ อาจจะมากกว่าอาชีพนักดนตรีที่แต่งตัวเท่ๆ รับจ้างในผับในบาร์ก็เป็นได้
คำบอกเล่าจากครอบครัว ที่ประกอบอาชีพขับวินมอไซด์รายหนึ่ง เล่าว่า….
"ขับวินมอไซด์ ไม่อายครับ รายได้ดีกว่าพนักงานบริษัทเอกชนอีกครับ บางที่
พ่อผมก็ขับครับ แต่ไม่ได้ขับจริงจัง (ได้เสื้อวินมาจากญาติๆกัน) ขับแต่ตอนเช้า กับตอนเย็นถ้ามีเวลา แค่พอได้ค่ากับข้าว ก็เลิกขับ
แนะนำเพิ่มครับ ถ้าขับในซอยคงไม่เท่าไหร แต่ถ้าต้องขับออกถนนใหญ่ ระวังตำรวจหน่อยก็ดีครับ เรื่องป้ายทะเบียน รถที่ขับวินได้ตามกฎหมายต้องจดทะเบียนเป็นรถสาธารณะครับ(ป้ายเหลือง) แล้วก็มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะด้วย"
พ่อผมก็ขับครับ แต่ไม่ได้ขับจริงจัง (ได้เสื้อวินมาจากญาติๆกัน) ขับแต่ตอนเช้า กับตอนเย็นถ้ามีเวลา แค่พอได้ค่ากับข้าว ก็เลิกขับ
แนะนำเพิ่มครับ ถ้าขับในซอยคงไม่เท่าไหร แต่ถ้าต้องขับออกถนนใหญ่ ระวังตำรวจหน่อยก็ดีครับ เรื่องป้ายทะเบียน รถที่ขับวินได้ตามกฎหมายต้องจดทะเบียนเป็นรถสาธารณะครับ(ป้ายเหลือง) แล้วก็มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะด้วย"
คุณลุงวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซอยทองหล่อ 18 เขตวัฒนา ท่านหนึ่งเล่าว่า…..
"ก่อนมาขับต้องจ่ายค่ามัดจำและค่าเปลี่ยนหน้าหรือค่าแรกเข้าตามราคาที่กำหนดไว้กับทางหัวหน้าวิน ตรงจุดที่มีผู้โดยสารไม่มาก ถ้าเป็นค่าเช่าเสื้อจะอยู่ที่ราคา 3,000 บาทต่อเดือน หากซื้อก็จะอยู่ที่ราคา 50,000 บาท แต่ต้องรอช่วงเวลาที่มีคนต้องการจะขาย"
คุณลุงได้เล่าต่อว่า…..
บริเวณปากซอยทองหล่อ ใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS สุขุมวิท ราคาเสื้อวินจะขายกันที่ราคา 350,000 บาทต่อตัว แต่ก็ไม่มีใครอยากขาย เพราะเก็บไว้ปล่อยให้ผู้อื่นเช่าจะเก็บเงินค่าเช่าคิดเป็นรายได้ที่สูงกว่า และเป็นรายได้ในระยะยาว ยิ่งนานไปราคาเสื้อก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีจำนวนคนในวินนี้มากถึง 80 ราย แต่ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะชาวต่างชาติซึ่งส่วนมากจะใช้บริการออกนอกเส้นทางที่เกินกว่า 5 กิโลเมตร ตามข้อตกลงของกลุ่มผู้ขับจะสามารถตกลงราคากับผู้ใช้บริการเองได้ ก็จะทำให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อวัน
บริเวณปากซอยทองหล่อ ใต้สถานีรถไฟฟ้า BTS สุขุมวิท ราคาเสื้อวินจะขายกันที่ราคา 350,000 บาทต่อตัว แต่ก็ไม่มีใครอยากขาย เพราะเก็บไว้ปล่อยให้ผู้อื่นเช่าจะเก็บเงินค่าเช่าคิดเป็นรายได้ที่สูงกว่า และเป็นรายได้ในระยะยาว ยิ่งนานไปราคาเสื้อก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีจำนวนคนในวินนี้มากถึง 80 ราย แต่ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะชาวต่างชาติซึ่งส่วนมากจะใช้บริการออกนอกเส้นทางที่เกินกว่า 5 กิโลเมตร ตามข้อตกลงของกลุ่มผู้ขับจะสามารถตกลงราคากับผู้ใช้บริการเองได้ ก็จะทำให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อวัน
"รายได้จากการขับรถจักรยานยนต์รับจ้างแถวรามคำแหง 24 อยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน แต่จะต้องเสียเงินไปกับการจ่ายค่าเช่าเสื้อเดือนละ 2,500 บาท เพราะเสื้อไม่ใช่ของเราเอง ส่วนผู้ที่มาขับใหม่ก็ต้องจ่ายค่าเปลี่ยนหน้าคนละ 3,000 บาท กับหัวหน้าวินในราคาค่าบริการก็จะคิดตามที่กำหนด นอกจากจะเป็นช่วงกลางคืนหรืออกนอกสถานที่จะมีการเพิ่มราคา"
“ธนชัย” อายุ 35 ปี ขับวินมอไซด์ “เสื้อวินทองคำ” มา 5 ปี ยอมรับว่า ทุกเดือนมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท โดยคิดค่าจ้างเริ่มต้นที่ 10 บาทในพื้นที่ใกล้เคียง แต่ถ้าไปไกล เช่น สีลมจะคิดประมาณ 120 บาท ทั้งวินมีสมาชิกรวมกัน 95 คัน แม้รายได้จะเยอะแต่ค่าใช้จ่ายก็มากเช่นกัน
"ทุกเดือนจะมีนักเลงประจำซอยมาเก็บค่าคุ้มครอง 1,500 บาท และเก็บค่าเสื้อเดือนละ 7 พันบาทแล้วแต่จะตกลงกัน โดยมาเฟียกลุ่มนี้จะเป็นคนเอาเงินค่าเสื้อไปให้เจ้าของเสื้อตัวจริงเพียง 3-4 พันบาท แล้วเก็บเงินค่าส่วนต่างไว้เอง แต่ไม่มีใครกล้าโวยวายเพราะกลัวจะไม่ปลอดภัย"
“การณ์” เพื่อนร่วมวิน “เสื้อวินทองคำ” เสริมว่า
"ปกติแล้วค่าเสื้อวินที่จ่ายจะสามารถนำมาใส่วิ่งได้ 24 ชั่วโมง แต่สำหรับค่าเสื้อวินทองคำที่ตนจ่ายเดือนละ 7 พันบาทนั้น จะวิ่งได้เพียง 1 กะ หรือ 8 ชั่วโมง แบ่งเป็นรอบเช้ารอบเย็น ใครไม่จ่ายห้ามวิ่ง เพราะมาเฟียคุมวินเป็นคนมีสี"
ปัจจุบันราคาค่ารถมอเตอร์ไซค์รับจ้างพุ่งทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมหากเดินทางไม่กี่สิบเมตร ผู้ใช้บริการอาจเสียเงินในกระเป๋าแค่ 5-10 บาท แต่ตอนนี้ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว 30-100 บาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าโดยสารรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างถีบตัวสูงขึ้น ก็เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนมหาโหดของบรรดาชาววินมอเตอร์ไซค์ต้องแบกรับนั่นเอง ทั้งค่าเก็บเสื้อวิน ค่าเช่าที่ ค่ามาเฟีย ฯลฯ โดยเฉพาะวินทองคำในย่านซอยสุขุมวิท ต้องจ่ายนอกระบบเดือนละกว่าหมื่นบาท อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลของทีมงานไทยอินโฟเน็ต เห็นว่า รายได้ตัวเลขนั้นยังมีการปกปิดกันมาก เพราะจากการสังเกตด้วยตาเปล่า ถึงปริมาณการรับส่งลูกค้าต่อวันในวินที่มีผู้คนพลุกล่าน เชื่อได้ว่ารายได้ต่อวันนั้นสูงกว่าที่เปิดเผยแน่นอน และประกอบกับที่ว่าถึงแม้ค่าใช้จ่ายในการเข้ามาขับวินนั้นสูงมากๆ แต่ก็ยังมีผู่้ที่สนใจจะเข้าสู่วงจรอาชีพนี้อีกมากมาย แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการคือต้องรับภาระในการจ่ายค่าบริการที่สูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 พล.ต.วราห์ บุญญะสิทธิ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะรอง ผบ.กกล.รส. ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบการใช้บริการขนส่งสาธารณะรับจ้าง รถจักรยานยนต์ ว่า จะมีการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์ที่มีปัญหาในเรื่องความไม่ปลอดภัย รวมถึงการเรียกเก็บค่าโดยสารแพง และเสื้อวินที่มีราคาแพง ซึ่ง พล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ได้ให้เวลา 15 วัน ในการแก้ไขปัญหาเสื้อวินที่มีราคาสูงเกือบแสนบาทจะต้องหมดไปโดยในช่วงเวลา 15 วันดังกล่าว หน่วยทหารที่รับผิดชอบไปสำรวจทุก ตรอก ซอก ซอย ว่ามีรถจักรยานยนต์รับจ้างอยู่เท่าไร และต้องเสียเงินค่าเสื้อวินคนละเท่าไร รวมถึงไปดูว่าเป็นวินของใคร ใครเป็นผู้เรียกเก็บเงิน พร้อมทั้งให้รถจักรยานยนต์รับจ้างไปลงทะเบียนกับกรมการขนส่ง เพื่อให้เป็นรถรับจ้างสาธารณะ และไม่จำเป็นต้องไปซื้อเสื้อวินที่มีราคาแพง และเมื่อรถจักรยานยนต์รับจ้างไม่ต้องซื้อเสื้อวิน ก็จะทำให้ค่าโดยสารปรับลดลงตาม ส่วนจะถึงขั้นต้องโละเสื้อวินทั้งหมดและทำใหม่หรือไม่นั้น อยู่ในระหว่างการศึกษาของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีข้อมูลมีวินรถจยย.รับจ้างในกรุงเทพฯ จำนวน 4,500วินที่จดทะเบียนถูกต้อง ในจำนวนนี้มีถึง 500 วินที่ยังไม่ได้จดทะเบียนถูกต้อง (วินเถื่อน) และอยู่ระหว่างรอจดทะเบียนอีก 700 วิน ซึ่งทั้งหมดนี้ตำรวจเตรียมจดทะเบียนนำเข้าสู่ระบบเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบปัญหาวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างนั้นกระทบสังคมทุกส่วนทั้งผู้ประกอบอาชีพและผู้รับบริการ นี่คือตัวอย่างเสียงร้องทุกข์จากประชาชนผู้ใช้บริการท่านหนึ่ง
."ผมไม่ทราบว่ามีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ดูแลและกำหนดอัตราค่าบริการของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่พบคือ วินแต่ละวินจะกำหนดราคากันเอง ไม่มีมาตรฐานเกี่ยวกับระยะทาง บางครั้งระยะทางเท่ากันเที่ยวไปวินหนึ่งคิดราคาหนึ่ง เที่ยวกลับอีกวินคิดอีกราคาหนึ่ง ผู้โดยสารก็ต้องจ่ายกันไปตามที่เขาเรียกไม่ค่อยจะกล้าโต้เถียง อยากขอให้มีหน่วยงานของรัฐบาลเข้ามาดูแลให้เป็นระบบที่เป็นมาตรฐานเหมือนกัน เพื่อคุ้มครองผู้โดยสารด้วยครับ หรือจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขอความกรุณาช่วยเป็นหน่วยงานกลางประสานให้ผู้โดยสารตาดำๆ ที่จำเป็นต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ควรมีราคาค่าบริการที่เป็นธรรม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น